การ์ดจอคอมคือ กราฟิกการ์ด (Graphics Card) มีลักษณะเหมือนแผงวงจร ภายในประกอบด้วยอุปกรณ์บางอย่าง ส่วนใหญ่เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานเกี่ยวกับการประมวลผลภาพ เช่น ชิปประมวลผลกราฟิก (GPU), อินเทอร์เฟซ (Interfaces), หน่วยความจำบนการ์ด (VIRAM), ตัวแปลงสัญญาณสำหรับการแสดงผล เป็นต้น การ์ดจอมีหลายชื่อ เช่น การ์ดจอ การ์ดจอ เป็นต้น การ์ดแสดงผลเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลเพื่อแสดงผลบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ หลักการทำงานเบื้องต้นเริ่มจากการรับข้อมูลและคำสั่งจาก CPU เพื่อประมวลผลให้เรียบร้อย หลังจากนั้นการ์ดแสดงผลจะนำข้อมูลที่ประมวลผลได้ ส่งไปยังจอคอมพิวเตอร์เพื่อแสดงภาพนั่นเอง เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับผู้ที่ต้องการใช้งานและให้ความสำคัญกับภาพเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการชมภาพยนตร์ ทำงานกราฟิก ตัดต่อวิดีโอ เล่นเกม หรือแม้แต่ขุดเหรียญในเครือข่ายสกุลเงินดิจิทัล หากคุณได้การ์ดจอที่มีคุณภาพเหมาะสมกับการใช้งานก็จะทำให้คอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพมากขึ้นอย่างแน่นอนปัจจุบันมีหลายบริษัทที่ผลิตคอมพิวเตอร์กราฟิกการ์ดในท้องตลาด แต่บริษัทหลักสองแห่งที่ผลิตอุปกรณ์เหล่านี้คือ NVIDIA และ AMD
- NVIDIA
NVIDIA เป็นยักษ์ใหญ่ด้านการ์ดแสดงผลมาอย่างยาวนานตั้งแต่ปี 1993 มีผลิตภัณฑ์คุณภาพหลากหลายประเภทที่เหมาะสำหรับการใช้งานต่างๆ เช่น GeForce, Quadro, Tegra หรือ Nvidia Tesla และคนอื่น ๆ. นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยีที่เป็นที่รู้จักและยอมรับมากมายในอุตสาหกรรมนี้ หนึ่งในนั้นคือ RAY TRACING เทคโนโลยีสำหรับกราฟิกการ์ดที่มีความสามารถในการจำลองเสมือน ด้วยการประมวลผลกราฟิกของระบบ AI ให้ดูสมจริงที่สุด และด้วยประสิทธิภาพที่ดีนี้ ทำให้ NVIDIA ยังคงได้รับความนิยมจากผู้ใช้งานอย่างต่อเนื่อง - AMD
AMD เป็นอีกหนึ่งยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เป็นคู่แข่งกับ NVIDIA มาโดยตลอด แม้ว่าในยุคแรกๆ AMD จะเป็นที่รู้จักในด้านการผลิตไมโครโปรเซสเซอร์หรือซีพียูก็ตาม แต่ในช่วงหลังบริษัทเริ่มพัฒนาและผลิตชิปประมวลผลกราฟิก จนออกมาเป็นการ์ดจอคุณภาพในหลายๆ รุ่น เช่น Firepro, Vega, Radeon และ Radeon RX เป็นต้น จุดแข็งของ AMD คือเป็นการ์ดจอที่มีประสิทธิภาพตอบสนองการใช้งานได้ทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการทำงานกราฟิกหรือเล่นเกม และสิ่งสำคัญที่ทำให้ AMD เป็นที่นิยมก็คือมีราคาที่ไม่สูงนัก คุ้มค่ากับการแสดงของตัวเอง
การ์ดจอคอมคือ ส่วนประกอบของการ์ดจอ
- แผงวงจร (PCB : Print Circuit Board)
เปรียบเสมือนเมนบอร์ดของคอมพิวเตอร์ ที่มีหน้าที่รองรับการติดตั้ง และเชื่อมต่อกับชิ้นส่วนต่าง ๆ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็น ชิปเซต, VRAM และ IC ต่าง ๆ ของการ์ดจอก็ล้วนถูกติดตั้งลงบนแผงวงจรนี้ทั้งหมด การ์ดจอคอมคือ - ชิปประมวลผลกราฟิกส์ (GPU : Graphics Processing Unit)ในส่วนนี้ ถือเป็นหัวใจหลัก หรือสมองของการ์ดจอเลยก็ว่าได้ เนื่องจากเป็นชิปประมวลผลที่มีความสามารถสูง เป็นหน่วยประมวลผลทางกราฟิกโดยเฉพาะ และข้อมูลที่ประมวลได้จะถูกส่งออกไปยังจอแสดงผลภาพ ผ่านพอร์ตต่าง ๆ บนตัวการ์ดจอนั่นเอง
- หน่วยความจำ (VRAM : Video Random Access Memory)
ทำหน้าที่เหมือนกับ RAM หลักที่ใช้ในคอมพิวเตอร์ แต่ VRAM คือ แรมที่ใช้สำหรับ GPU (Graphics Processing Unit) โดยเฉพาะ หน้าที่หลักของ VRAM ก็จะเก็บข้อมูลการแสดงผลที่จำเป็น พักไว้ที่ตัวเอง ก่อนจะส่งต่อไปให้ GPU ประมวลผล และส่งภาพออกไปยังจอภาพ อีกที ยิ่งมี VRAM ที่ความจุมากเท่าไหร่ ยิ่งเป็นผลดีต่อการใช้งานมากขึ้นเท่านั้น เช่น การเรนเดอร์วิดีโอ หรือการเล่นเกมต่าง ๆ ที่ต้องการความเร็ว และความลื่นไหลของภาพ หรือการโหลดฉาก หรือพื้นผิวของภาพในเกม เนื่องจาก ข้อมูลจากตัวเกมจะถูกโหลด และนำไปพักไว้ที่ VRAM ก่อนที่ GPU จะประมวลผลและส่งภาพออกไปยังจอภาพ อย่างที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเองการ์ดจอแต่ละยี่ห้อ – รุ่น ก็จะมีค่าความจุ VRAM ที่ต่างกัน แล้วจะรู้ได้อย่างไร ว่าการ์ดตัวไหนมีความจุ VRAM ที่เท่าไหร่ ให้สังเกตง่าย ๆ เลย ตัวอย่างเช่น Gigabyte NVDIA GeForce GTX750/1GB D5 แยกเป็น ยี่ห้อ Gigabyte, ค่าย NVDIA, รุ่น GeForce GTX750 และความจุ VRAM เท่ากับ 1GB ชนิด VRAM แบบ GDDR5 นั่นเองครับ ซึ่งชนิดของ VRAM นี้สมัยใหม่ ๆ แนะนำให้ใช้รุ่นที่เป็น GDDR5 ขึ้นไป ปัจจุบันนี้ปี 2021 ก็จะเป็น VRAM แบบ GDDR6 กันเกือบทั้งหมดแล้ว - พอร์ตเชื่อมต่อไฟเลี้ยง (Power Connector)
ในส่วนนี้ จะมีติดมาให้กับ GPU โดยเฉพาะสำหรับการ์ดจอรุ่นใหญ่ ที่ต้องการกระแสไฟฟ้าเพิ่มเติมเพื่อไปใช้เลี้ยงชิ้นส่วนต่างๆ บนการ์ดจอ เนื่องจากการ์ดจอรุ่นใหญ่ๆ ต้องการกำลังไฟฟ้าสูงเพื่อให้เพียงพอต่อระบบการทำงานของการ์ดนั้นๆ เพราะว่ากำลังไฟจากเมนบอร์ดของคอมพิวเตอร์ไม่สามารถส่งกระแสไฟฟ้าที่สูงพอที่การ์ดจอต้องการนั่นเองครับส่วนมากแล้วเราจะเห็น Power Connector ติดตั้งมากับการ์ดจอสำหรับเล่นเกม หรือการ์ดจอสำหรับทำงาน เรนเดอร์งาน ที่ต้องใช้ประสิทธิภาพในการประมวลผลทางด้านกราฟิกที่สูง โดยจะมีลักษณะเป็น PIN Connector แบบ 6 PIN, 8 PIN หรือ 16PIN บนตัวการ์ดจอ ตามภาพตัวอย่างด้านล่างนี้ จะเป็นแบบ 8 Pin ครับ - พอร์ตเชื่อมต่อ (Output Port)
เป็น Connector Port สำหรับเชื่อมต่อกับสายสัญญานภาพ เพื่อส่งออกไปยังจอภาพ หรืออุปกรณ์แสดงผลภาพต่าง ๆ ซึ่งพอร์ตพวกนี้ก็จะมีอยู่หลายแบบ หลายชนิดด้วยกัน ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงในการเลือกซื้อการ์ดจอ เพราะต้องเช็คให้แน่ใจว่า Port มันสามารถ Compatible กับ Monitor ที่เราต้องการใช้ได้ด้วยส่วนใหญ่ก็จะมี HDMI, DisplayPort, DVI หรือรุ่นเก่าหน่อยก็จะมี VGA Port มาให้ด้วย แต่หากท่านในใช้การ์ดจอรุ่นใหม่ ๆ ที่ไม่มี VGA Port มาด้วย ก็จำเป็นต้องหา Adapter สำหรับแปลงพอร์ตให้สามารถใช้กับจอเก่าที่ยังเป็น VGA Port ได้เช่นกัน - ชุดระบายความร้อน (Cooling System)
มันก็ คือ ชุด Heatsink ระบายความร้อน ที่แปะอยู่บนชิปประมวลผล GPU ของการ์ดจอ การทำงานก็เหมือนกับฮีทซิงค์ระบายความร้อนของ CPU ในแผ่นอลูมิเนียมนี้จะทำหน้าที่ดูดซับความร้อนจากหน้าสัมผัสของชิปประมวลผลมาไว้ที่ตัวเอง เพื่อระบายออกผ่านทางอากาศบางรุ่นที่เป็นการ์ดจอเล็กๆ อาจจะไม่ได้มีพัดลมติดตั้งมาให้ ส่วนรุ่นใหญ่ๆ หรือพวกการ์ดจอสำหรับทำงานกราฟิก หรือเล่นเกม ก็จะเห็นพัดลมติดตั้งอยู่ 1-3 ตัวกันเลย พร้อมกับแผ่นฮีทซิงค์ขนาดใหญ่ติดตั้งเอาไว้ ยิ่งเป็นรุ่นที่รองรับการทำงานที่หนัก ก็จะมีท่อนำความร้อน Heat Pipe ติดตั้งมาด้วยเพื่อช่วยนำความร้อนออกไปจากตัวชิปประมวลผลดียิ่งขึ้นนั่นเองครับ การ์ดจอคอมคือ